NEWS & PROMOTION

ข่าวสารและโปรโมชั่น

วิธีดูขนาดยางรถยนต์กระบะเบื้องต้น ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

ขนาดยางรถกระบะ

ขนาดยางรถกระบะ ที่ระบุบนแก้มยางเปรียบเสมือน “บัตรประจำตัวของยาง” ที่บอกเล่าถึงความสามารถและคุณสมบัติต่างๆ ของยางเส้นนั้น ไม่ว่าจะเป็นขนาด ความแข็งแรง ดัชนีรับน้ำหนัก หรือแม้แต่ความเร็วสูงสุดที่รถสามารถทำได้ ดังนั้น การเลือกยางที่สเปกตรงตามที่ผู้ผลิตรถแนะนำ หรือเหมาะสมกับสไตล์การขับขี่เรา จะช่วยให้มั่นใจในการขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น

 

วิธีดูขนาด “ยางรถกระบะบรรทุกหนัก” เบื้องต้น

อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่า การเลือกยางรถกระบะให้เหมาะสมนั้นสำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่ ความปลอดภัย และอายุการใช้งานของรถ การทำความเข้าใจในขนาดยางจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่าขนาดยางที่เราเห็นบนแก้มยางแต่ละตัวนั้นมีความหมายอย่างไรบ้าง ?

 

แก้มยางรถกระบะ GRANDTREK AT5

การอ่านขนาดบนแก้มยางรถกระบะ

เมื่อมองไปที่แก้มยางของรถกระบะ เราจะพบตัวเลขและตัวอักษรเรียงกัน ซึ่งแต่ละตัวแทนความหมายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ตัวอย่าง – ขนาดยาง : 225/75R15

225 คือ ความกว้างของหน้ายาง (วัดเป็นมิลลิเมตร) ยิ่งตัวเลขมาก ยางก็จะยิ่งกว้าง
75 คือ อัตราส่วนความสูงของแก้มยางเทียบกับความกว้างของหน้ายาง (เป็นเปอร์เซ็นต์) ยิ่งตัวเลขมาก แก้มยางก็จะยิ่งสูง
R หมายถึง โครงสร้างของยางแบบ Radial (เรเดียล) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
15 คือ ขนาดของวงล้อ (วัดเป็นนิ้ว)

 

เช็กลิสต์ สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกยางรถกระบะ

นอกจากขนาดที่ปรากฏบนแก้มยางแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกยางรถกระบะ ดังนี้

 

1. ประเภทของยาง (Tire Type)

All-Terrain (AT) เหมาะสำหรับการใช้งานบนถนนทั่วไปและออฟโรดเบาๆ มีดอกยางที่ออกแบบมาให้สามารถขับขี่ได้ดีในหลากหลายสภาพถนน
Highway Terrain, Passenger Tire (HT,PT) ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบนถนนลาดยาง เน้นความนุ่มนวลในการขับขี่และประหยัดน้ำมัน
Mud-Terrain (MT) เหมาะสำหรับการใช้งานออฟโรดหนัก มีดอกยางที่ลึกและกว้าง ช่วยให้ยางยึดเกาะได้ดีในสภาพพื้นผิวที่ขรุขระ
Extreme Terrain (XT) เป็นยางสำหรับการใช้งานออฟโรดที่สมบุกสมบันมากที่สุด มีดอกยางที่แข็งแรงและลึกที่สุด

 

2. ขนาดยาง

ขนาดของยางมีผลต่อการขับขี่และรูปลักษณ์ของรถอย่างมาก โดยความกว้างของหน้ายาง ยิ่งกว้างยิ่งทำให้รถเกาะถนนได้ดีขึ้น แต่ก็อาจส่งผลให้พวงมาลัยตอบสนองช้าลงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราส่วนของความสูงของแก้มยางต่อความกว้างของหน้ายาง หากมีค่าสูงจะทำให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น แต่ก็อาจลดประสิทธิภาพในการเกาะถนนได้บ้าง และสุดท้ายเส้นผ่านศูนย์กลางของวงล้อ นอกจากจะส่งผลต่อความสูงของตัวรถแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการกำหนดรูปลักษณ์ภายนอกให้ดูสปอร์ตหรือเรียบหรูมากขึ้นอีกด้วย

 

3. ดัชนีรับน้ำหนัก (Load Index)

ดัชนีรับน้ำหนักของยางบ่งบอกถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยางเส้นนั้นสามารถรับได้ขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่กำหนดไว้ ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย ควรเลือกยางที่มีดัชนีรับน้ำหนักสูงกว่าน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของรถของเราเสมอ

 

4. ดัชนีความเร็ว (Speed Rating)

ดัชนีความเร็วของยางบ่งบอกถึงความเร็วสูงสุดที่ยางสามารถรับได้อย่างปลอดภัยขณะใช้งาน หากใช้งานยางเกินกว่าความเร็วที่กำหนดไว้ ยางอาจเกิดความร้อนสูงและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรืออาจระเบิดได้ในขณะขับขี่ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรเลือกยางที่มีดัชนีความเร็วเท่ากับหรือสูงกว่าที่ระบุไว้ในคู่มือรถเสมอ

 

5. ลายดอกยาง (Tread Pattern)

ลายดอกยางมีผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยึดเกาะถนน การระบายน้ำ และเสียงดังที่เกิดขึ้นขณะขับขี่ การเลือกใช้ลายดอกยางจึงควรพิจารณาจากสภาพการใช้งานเป็นหลัก หากใช้งานในเมืองเป็นประจำ ควรเลือกลายดอกยางที่เน้นความเงียบ เพื่อให้การขับขี่สบายขึ้น ในขณะที่หากต้องการนำรถไปใช้งานออฟโรดบ่อยๆ ควรเลือกลายดอกยางที่ลึกและกว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะบนพื้นผิวขรุขระและระบายน้ำได้ดี

 

6. สไตล์การขับขี่

การเลือกยางรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับสไตล์การขับขี่ของแต่ละบุคคล หากเป็นคนที่ชอบขับรถด้วยความเร็วสูง ควรเลือกยางที่มีดัชนีความเร็วสูง เพื่อให้สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจในขณะที่เร่งความเร็ว แต่หากใครที่ชอบการขับขี่ที่นุ่มนวลและสบาย การเลือกยางที่มีแก้มยางสูงจะช่วยลดแรงกระแทกจากผิวถนน ทำให้การขับขี่ของเราราบรื่นมากยิ่งขึ้น

 

7. สภาพถนนที่ใช้

หากใช้รถในเมืองเป็นหลัก การเลือกยางที่เน้นความนุ่มนวลและประหยัดน้ำมันจะช่วยให้การขับขี่ราบรื่นและลดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมัน แต่ถ้าหากชอบนำรถไปขับขี่บนเส้นทางออฟโรดเป็นประจำ การเลือกยางที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนพื้นผิวขรุขระจะช่วยให้รถของเราสามารถวิ่งผ่านอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

 

รถกระบะบรรทุกของหนักเติมลมยางเท่าไหร่

ไขข้อสงสัย รถกระบะบรรทุกของหนักเติมลมยางเท่าไหร่?

ความดันลมยางที่เหมาะสมสำหรับรถกระบะบรรทุกของหนักนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้น ยิ่งบรรทุกมาก ยางก็ควรมีลมมากขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนัก อีกทั้ง ขนาดของยางแต่ละประเภทก็จะมีค่าความดันลมที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงสภาพของยางที่เก่าหรือสึกหรอ และสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นก็อาจส่งผลต่อความดันลมยางได้เช่นกัน

 

ฉะนั้น การตรวจสอบคู่มือรถจะเป็นแหล่งข้อมูลที่แม่นยำที่สุดในการบอกค่าความดันลมยางที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ โดยปกติแล้วค่าความดันลมยางจะระบุไว้ที่เสาประตูฝั่งคนขับ หรือภายในฝากระโปรงหน้ารถของเรานั่นเอง

 

จะเห็นได้ว่าการเลือกยางรถกระบะที่เหมาะสมนั้นสำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับขี่ ความปลอดภัย และอายุการใช้งานของรถ ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขนาดยางให้เข้าใจ และเลือกยางที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ทั้งนี้ หากใครที่กำลังมองหายางรถกระบะ 4 ประตูยี่ห้อไหนดี ราคาประหยัด แต่คุณภาพดี ยางรถยนต์จาก Dunlop คือ คำตอบ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ยาง Dunlop มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เกาะถนนดีเยี่ยม ประหยัดน้ำมัน ช่วยให้เราสามารถขับขี่ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

ขนาดยางรถตู้

วิธีเลือกขนาดยางรถตู้ให้เหมาะกับการขับขี่ในเมืองและเดินทางไกล

อย่างที่รู้กันว่า การเลือกยางรถตู้ให้เหมาะสมไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะทุกอย่างล้วนมีผลต่อความปลอดภัย ความนุ่มนวลในการขับขี่ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการเติม

อ่านต่อ...
สถานที่ท่องเที่ยวภาคใต้

รวมลิสต์ 7 ที่เที่ยวภาคใต้ น้ำใส หาดทรายขาว เหมาะสำหรับคนรักทะเล

ใครกำลังมองหาที่พักผ่อนหย่อนใจริมทะเล ภาคใต้ คือ คำตอบ กับบรรยากาศสุดแสนจะอบอุ่น ชายหาดทอดยาวสุดสายตา น้ำทะเลสีใสราวกับกระจก ท้องฟ้าสีครามแซมสีรุ้ง แล

อ่านต่อ...
โครงสร้างยางรถยนต์

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?

ภายใต้หน้ายางที่คุณมองเห็น ยางรถยนต์ได้ซ่อนไว้ซึ่งโครงสร้างภายในที่ซับซ้อน ประกอบด้วยส่วนประกอบมากมายที่ทำงานประสานกันอย่างลงตัว เพื่อให้ยางสามารถรองร

อ่านต่อ...
Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • ประสิทธิภาพบนถนนแห้ง
  • ประสิทธิภาพบนถนนเปียก
  • การต้านทานการเหินน้ำ
  • ความเงียบ
  • ความสะดวกสบาย
  • อายุการใช้งาน
  • พื้นหิมะ
  • พื้นโคลน
  • ถนนลูกรัง
  • ถนนเรียบ
  • ชนิดของรถ
Click outside to hide the comparison bar
Compare