NEWS & PROMOTION

ข่าวสารและโปรโมชั่น

เช็กลมยางรถกระบะ เติมเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม?

รถกระบะเป็นรถยอดนิยมที่ผู้ขับขี่หลายคนเลือกใช้ เนื่องด้วยคุณสมบัติและความหลากหลายในการใช้งาน แต่เชื่อว่าหลายคนคงมีข้อสงสัยว่า ควรเติมลมยางรถกระบะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม วันนี้ดันลอปเลยจะพาทุกคนไปดูวิธีการเช็กและเติมลมยางรถกระบะให้ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่มากยิ่งขึ้น

ทำไมการเติมลมยางรถกระบะให้พอดีถึงสำคัญ

การเติมลมยางรถกระบะให้เหมาะสมไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ แต่ยังช่วยในเรื่องการประหยัดน้ำมันและการถนอมรถ เนื่องด้วยความดันลมยางที่พอดีจะช่วยลดแรงเสียดทางระหว่างยางกับพื้นถนน เครื่องยนต์จึงไม่ต้องทำงานหนักมากเกินไป ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน แล้วยังช่วยลดการสึกหรอของหน้ายางให้มีอายุการใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น

ค่าลมยางที่เหมาะสมกับรถกระบะคือเท่าไหร่

โดยทั่วไปแล้ว รถกระบะควรเติมความดันลมยางอยู่ที่ประมาณ 35 – 40 PSI (ปอนด์) ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่ารถเก๋งหรือรถยนต์ทั่วไป ยิ่งถ้าหากมีการบรรทุกของหนัก ก็ควรเติมลมยางให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ยางสามารถรองรับน้ำหนักที่มากกว่าปกติได้ โดยยกตัวอย่างค่าความดันลมยางที่เหมาะกับรถกระบะโดยประมาณได้ดังนี้

  • รถกระบะใช้งานทั่วไป (ไม่บรรทุกหนัก) :  30-35 PSI
  • รถกระบะบรรทุกของปานกลาง : 35-40 PSI
  • รถกระบะบรรทุกหนัก (ขนส่งสินค้า/งานพาณิชย์) : 40-50 PSI

ซึ่งนี่เป็นการประมาณค่าความดันลมยางเบื้องต้นเท่านั้น หากผู้ขับขี่ต้องการรู้ค่าความดันลมยางรถกระบะอย่างแม่นยำและเหมาะสม ดันลอปขอแนะนำให้ดูคู่มือประจำรถกระบะแต่ละรุ่น หรือสติ๊กเกอร์แนะนำค่าลมยาง ที่มักจะถูกติดอยู่บริเวณประตูข้างคนขับ ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง

จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าค่าความดันลมยางที่เหมาะสมสำหรับรถกระบะคันนี้คือ 35 PSI ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง (H: Half Load) แต่หากมีการบรรทุกของหนักมากขึ้น (M: Maximum Load) แนะนำให้คงลมยางล้อหน้าไว้ที่ 35 PSI และเพิ่มลมยางล้อหลังเป็น 41 PSI เพื่อให้ยางรองรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างขับขี่

ผลกระทบของการเติมลมยางรถกระบะที่ไม่เหมาะสม

ในกรณีที่เติมลมยางรถกระบะมากเกินไป จะส่งผลให้

  • ยางแข็งและขาดความยืดหยุ่น : เมื่อต้องวิ่งผ่านถนนขรุขระหรือหลุมบ่อ ผู้ขับขี่จะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นได้มากกว่าปกติ
  • ประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนลดลง : ลมยางที่มากเกินไปทำให้หน้ายางสัมผัสพื้นถนนน้อยลง ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการควบคุมรถและการเบรค
  • อายุการใช้งานยางลดลง : ความดันลมยางที่สูงเกินไปทำให้หน้ายางส่วนกลางเกิดการเสียดสีกับพื้นถนนมากกว่าปกติจึงทำให้เกิดการสึกหรอเร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเพิ่มความเสี่ยงในการระเบิดของยางได้มากขึ้นอีกด้วย

ในกรณีที่เติมลมยางรถกระบะน้อยเกินไป จะส่งผลให้

  •  รถเกิดความเฉื่อย : ลมยางอ่อนทำให้หน้ายางเกิดการสัมผัสกับพื้นถนนมากกว่าปกติ ประกอบกับต้องรองรับน้ำหนักของที่บรรทุกบนรถกระบะ ก็ยิ่งส่งผลให้การเคลื่อนที่ของรถช้าลง และต้องใช้กำลังในการขับเคลื่อนมากขึ้น
  • สิ้นเปลืองน้ำมัน : เมื่อรถเคลื่อนที่ได้ยากขึ้น เครื่องยนต์ก็ต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้การใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นไปด้วย
  • ยางเกิดการสะสมความร้อน : เมื่อความดันลมยางน้อยเกินไป มีโอกาสที่ทำให้ยางยุบตัวแล้วเกิดการเสียดสีภายในยางจนเกิดความร้อนสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การระเบิดของยางได้

อาการไหนที่บ่งบอกว่ารถกระบะมีค่าลมยางผิดปกติ

เมื่อลมยางรถกระบะมีความผิดปกติ ผู้ขับขี่สามารถรับรู้ได้จากอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นขณะขับขี่ได้ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมรถที่เปลี่ยนไป เสียงที่เกิดขึ้นขณะขับเคลื่อน หรือสังเกตที่หน้ายางได้ด้วยตาตนเอง

สังเกตจากการควบคุม

  • พวงมาลัยหนัก : หากรู้สึกว่าต้องใช้แรงมากขึ้นในการหมุนพวงมาลัย อาจเป็นสัญญาณว่าลมยางอ่อนเกินไป ทำให้การควบคุมรถยากขึ้น
  • รถส่าย : เมื่อเข้าโค้งหรือเปลี่ยนเลน แล้วรู้สึกว่ารถไม่มั่นคง อาจเกิดจากลมยางที่อ่อนเกินไป ส่งผลให้การควบคุมรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • เบรกไม่ค่อยอยู่ : หากตอนเบรกรู้สึกว่าเบรกไม่ค่อยอยู่ หรือต้องใช้ระยะเบรกมากขึ้น อาจเป็นผลมาจากลมยางอ่อนเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพการเบรกลดลง

สังเกตจากเสียง

  • เกิดเสียงหอน : หากได้ยินเสียงหอนขณะขับขี่ โดยเฉพาะเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น สันนิษฐานได้ว่าลมยางอาจอ่อนเกินไป ทำให้หน้ายางเสียดสีกับพื้นถนนมากกว่าปกติ

สังเกตจากหน้ายาง 

  • หน้ายางตรงกลางสึกมากกว่าตรงขอบ : อาจหมายถึงรถกระบะมีลมยางที่มากเกินไปทำให้ส่วนกลางของหน้ายางสัมผัสกับพื้นถนนมากกว่าปกติ
  • หน้ายางตรงขอบสึกมากกว่าตรงกลาง : อาจหมายถึงลมยางรถกระบะน้อยเกินไปส่งผลให้หน้ายางตรงขอบต้องรับแรงเสียดสีกับพื้นถนนมากขึ้น

วิธีเช็กลมยางรถกระบะด้วยตนเอง

ที่วัดลมยางรถกระบะ

ในปัจจุบันการเช็กลมยางด้วยตนเองทำได้ไม่ยาก เพียงแค่มีอุปกรณ์อย่างเกจวัดลมยาง (ดังภาพตัวอย่างด้านบน) ที่ถือว่าเป็นเครื่องมือตรวจวัดแรงดันลมยางได้แม่นยำที่สุด และไม่ซับซ้อนโดยมีขั้นตอนตามนี้

ขั้นตอนการเช็กลมยางรถกระบะที่ถูกต้อง

  1. จอดรถในที่ร่มและรอให้ยางเย็นลง (อย่างน้อย 3 – 4 ชั่วโมงหลังจากขับขี่)
  2. นำฝาปิดจุ๊บลมออก แล้วนำเกจวัดลมยางมาแนบกับจุ๊บล
  3. อ่านค่าความดันลมยางจากหน้าปัดของเก
  4. เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่ามาตรฐาน (สามารถดูจากคู่มือรถหรือสติกเกอร์แนะนำค่าลมยางข้างประตูฝั่งคนขับ
  5. หากพบว่าค่าลมยางน้อยหรือมากกว่าปกติ สามารถเติมลมหรือปล่อยลมตามต้องการ เพื่อให้ได้ค่าที่เหมาะส
  6. ปิดฝาจุ๊บลม เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและป้องกันลมรั่วออกมากขณะขับขี่

การเช็กและเติมลมยางรถกระบะให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากลมยางอ่อนหรือแข็งเกินไป ไม่เพียงแต่ส่งผลในเรื่องของความปลอดภัย แต่ยังสร้างผลกระทบต่อประสิทธิภาพการใช้งานของรถกระบะ และอายุการใช้งานของยางได้อีกด้วย

อย่าลืมเติมลมยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน และเช็กอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง หรือทุกๆครั้งก่อนออกเดินทางไกล เพื่อให้รถกระบะของคุณปลอดภัยและพร้อมลุยได้ทุกเส้นทาง

 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

เช็กลมยางรถกระบะ เติมเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม?

ค่าลมยางรถกระบะที่เหมาะสม ควรเติมเท่าไหร่? เช็กลมให้ถูกต้อง เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง ดูข้อมูลที่นี่!

อ่านต่อ...

ยางรถยนต์ DUNLOP SP SPORT MAXX060+ ยางที่รองรับการใช้งานทั้งรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้า (EV Suitable)

ในยุคที่รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV ที่กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าหลายท่านอาจกำลังมองหายางรถยนต์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า แต่

อ่านต่อ...
Dunlop Golf Competition 2025

Dunlop Golf Competition 2025

บริษัท ดันลอป ไทร์ (ไทยแลนด์) จำกัด นำโดยคณะผู้บริหาร และพนักงาน จัดกิจกรรมแข่งขันตีกอล์ฟ (Golf Competition) ประจำปี 2568 ให้กับร้านค้าพันธมิตรดันลอปช

อ่านต่อ...
Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • ประสิทธิภาพบนถนนแห้ง
  • ประสิทธิภาพบนถนนเปียก
  • การต้านทานการเหินน้ำ
  • ความเงียบ
  • ความสะดวกสบาย
  • อายุการใช้งาน
  • พื้นหิมะ
  • พื้นโคลน
  • ถนนลูกรัง
  • ถนนเรียบ
  • ชนิดของรถ
Click outside to hide the comparison bar
Compare