NEWS & PROMOTION

ข่าวสารและโปรโมชั่น

วิธีดูขนาดยางรถยนต์ด้วยตัวเองง่ายๆ รู้ไว้จะไม่เลือกยางผิด

วิธีดูขนาดยางรถยนต์ด้วยตัวเอง

เคยไหม? กำลังจะเปลี่ยนยางรถยนต์ แต่ดันไม่รู้ขนาดยางรถที่เราใช้ หรือบางทีไปร้านยางแล้วพนักงานแนะนำยางมา แต่ไม่แน่ใจว่าขนาดยางนั้นเหมาะกับรถของเราหรือไม่

บทความนี้ ดันลอปจะมาแนะนำวิธีดูขนาดยางรถยนต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน ก็สามารถเลือกยางที่เหมาะกับรถได้อย่างมั่นใจ

 

วิธีดูขนาดยางรถยนต์บนแก้มยางรถด้วยตัวเอง

การสังเกตและจดจำขนาดยางรถยนต์อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ในความเป็นจริงเพียงแค่จดจำตัวเลข 3 ชุดบนยางรถยนต์ของเราก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น เรามาเริ่มสำรวจเลขชุดเหล่านี้และความหมายของมันไปพร้อมๆ กันได้เลย

 

1. สังเกตุตัวเลขบนแก้มยาง

ตัวเลขบนแก้มยางเป็นเหมือนบัตรประชาชนของยาง บอกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยางเส้นนั้นๆ ซึ่งบนแก้มยางจะมีตัวเลขและตัวอักษรระบุข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับยางดังนี้

  • ความกว้างของยาง : บอกเป็นมิลลิเมตร เช่น 215 หมายถึง ยางกว้าง 215 มม.
  • อัตราส่วนความสูงแก้มยางต่อความกว้าง : บอกเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 45 หมายถึง แก้มยางสูง 45% ของความกว้างยาง
  • โครงสร้างยาง :
    • R : ยางเรเดียล (Radial) ยางที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน
    • D : ยางไดแอกนอล (Diagonal) ยางรุ่นเก่า หายาก ไม่นิยมใช้แล้ว
  • เส้นผ่านศูนย์กลางล้อ : บอกเป็นนิ้ว เช่น 17 หมายถึง ยางใช้กับล้อขนาด 17 นิ้ว
  • ดัชนีรับน้ำหนัก : บอกเป็นตัวเลข ตัวเลขยิ่งสูง ยางยิ่งรับน้ำหนักได้มาก
  • ดัชนีความเร็ว : บอกเป็นตัวอักษร ตัวอักษรยิ่งสูง ยางยิ่งรองรับความเร็วสูงได้

 

ตัวอย่าง : 215/45R17 91W

  • 215 = ความกว้างของยาง 215 มม.
  • 45 = อัตราส่วนความสูงแก้มยางต่อความกว้าง 45%
  • R = โครงสร้างยางเรเดียล
  • 17 = เส้นผ่านศูนย์กลางล้อ 17 นิ้ว
  • 91 = ดัชนีรับน้ำหนัก
  • W = ดัชนีความเร็ว

 

ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราด้วยว่าใช้บ่อยแค่ไหน โดยความถี่ในการเติมลมยางรถยนต์ ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าควรเติมลมยางเมื่อไหร่ ซึ่งปกติแล้วลมยางรถยนต์จะลดลง 2-3 PSI ในหนึ่งเดือน หากเราใช้รถไม่บ่อยนัก แนะนำให้เติมลมยางเดือนละ 1-2 ครั้ง แต่เพื่อความปลอดภัย ควรหมั่นตรวจเช็กลมยางอยู่เสมอ

 

ตัวอย่างตารางขนาดยางรถยนต์ : DUNLOP SP SPORT MAXX060+

 

ตารางขนาดยางรถยนต์

 

สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ : DUNLOP SP SPORT MAXX060+


หมายเหตุ: ตารางขนาดยางรถยนต์นี้เป็นการแสดงขนาดยางบางส่วนเท่านั้น ยังมีขนาดอื่นๆ อีกมากมาย โดยสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านยางรถยนต์ดันลอปของเราเพื่อขอคำแนะนำ

 

เติมลมยางรถยนต์ที่ไม่ถูกต้อง

การเติมลมยางรถยนต์ที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลเสียอะไร

การเติมลมยางรถยนต์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเติมลมยางมากเกินไป หรือเติมลมยางน้อยเกินไป ล้วนส่งผลเสียต่อทั้งความปลอดภัย สมรรถนะและอายุการใช้งานของยางรถยนต์ ดังนี้

 

1. ผลเสียของการเติมลมยางมากเกินไป

  • ยางแข็ง กระด้าง ส่งผลต่อความนุ่มนวลในการขับขี่
  • ยางสึกหรอเร็ว เกิดรอยแตกลายงา
  • เสี่ยงต่อยางระเบิด โดยเฉพาะเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูง
  • ควบคุมรถยาก เบรกไม่ค่อยอยู่

 

2. ผลเสียของการเติมลมยางน้อยเกินไป

  • ยางแฟบ ย้วย ส่งผลต่อการทรงตัวของรถ
  • ยางเสียดสีกับถนนมากขึ้น เกิดความร้อน สึกหรอเร็ว
  • กินน้ำมันมากขึ้น
  • เสี่ยงต่อยางรั่วและยางระเบิด

 

เพื่อความปลอดภัย ควรเติมลมยางรถยนต์ให้ตรงตามค่ามาตรฐานที่ระบุไว้ในคู่มือรถ

 

อย่างไรก็ตาม หากรถเกิดปัญหาฉุกเฉินกลางทาง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุ รถเสีย รถยางรั่ว รถสตาร์ทไม่ติด หรืออุบัติเหตุรถชน ดันลอปเรามีบริการศูนย์บริการตัวแทนจำหน่ายดูแลในยามฉุกเฉิน ที่คอยช่วยดูแลหากเกิดปัญหารถเสียกลางทางได้อีกด้วย สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนยางรถยนต์ 4 เส้น vs .2 เส้น หรือทีละ 1 เส้น แบบไหนดีกว่ากัน ?

ยางรถยนต์คือหนึ่งในส่วนประกอบหลักที่ช่วยให้การเดินทางปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการตรวจเช็กยางรถยนต์ และเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อเสื่อมสภาพหรือหมดอายุ

อ่านต่อ...

ดันลอป ขึ้นรับรางวัล BEST IMPORT TYRE 2025 ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านยางนำเข้ากว่า 27 ปี

คุณ พรพินันท์ พิสุทธิ์วัชระกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดันลอป ไทร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ขึ้นรับรางวัล CAR OF THE YEAR 2025 สาขา BEST IMPORT TYRE จาก บ

อ่านต่อ...

ยางรั่วหรือแบนต้องทำอย่างไร? สาเหตุที่ทำให้ยางรั่วและวิธีป้องกัน

รถยางรั่ว เป็นหนึ่งในปัญหาที่เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอ โดยเฉพาะระหว่างขับขี่ เพราะนอกจากจะทำให้เราเสียเวลาแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้

อ่านต่อ...
Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • Price
  • ประสิทธิภาพบนถนนแห้ง
  • ประสิทธิภาพบนถนนเปียก
  • การต้านทานการเหินน้ำ
  • ความเงียบ
  • ความสะดวกสบาย
  • อายุการใช้งาน
  • พื้นหิมะ
  • พื้นโคลน
  • ถนนลูกรัง
  • ถนนเรียบ
  • ชนิดของรถ
Click outside to hide the comparison bar
Compare